เรียน ภาษาอังกฤษ กับวันสำคัญ วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา ประวัติวันมาฆบูชา วันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
Magha Puja Day is one of the most important
Buddhist celebrations which falls on the full moon day of the third
lunar month (about last week of February or early of March).
วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญลู่ทางพุทธศาลนา ตรงพร้อมกับวันเพ็ญเดือน 3 (เดาสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ หรือต้นเดือนมีนาคม)
This day marks the great four events that took place during Lord Buddha's lifetime, namely;
วันนี้ ดำรงฐานะวันที่ทบทวนถึงเหตุการณ์สำคัญในที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล กล่าวคือ
- 1250 Buddhist monks from different
places came to pay homage to Lord Buddha at Valuwan Vihara in Rajgaha,
the capital of Magaha State, each of his own initiative and without
prior notification or appointment.
ภิกษุจำนวน
1,250 รูปละที่ต่างๆกันเดินทางมาเองโดยมิได้มานัดหมายแต่ประการใด
เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เวฬุวันวิหาร ข้างในกรุงราชคฤห์ เมืองมคธ
วันมาฆบูชา - all of them were the enlightened monks (or Arahantas)
ภิกษุทั้งหมดล้วนแต่เป็นผู้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุกองค์
- all of them had been individually ordained by Lord Buddha himself (Ehi Bhikkhu)
ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งสิ้น
- They assembled on the full moon day of the third lunar month.
วันนั้นเป็นวันเพ็ญ เดือนมาฆะ
On the evening of that day, Lord
Buddha gave the assembly a discourse "Ovadha Patimokha" laying down the
principles of His Teachings summarised into three acts, i.e. to do
good, to abstain from bad action and to purify the mind.
ในตอนเย็นของวันวันมาฆบูชา
นั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์"
อันเป็นหลักสอนสำคัญที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา เป็นพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง
นั่นคือ ทำความดี, ละเว้นความชั่ว, และทำใจให้บริสุทธิ์
It was unclear as to when the Magha
Puja Ceremony took place. However, in a guide book of ceremonies for the
twelve months written by King Chulalongkorn (Rama V), it is said that,
พิธีมาฆบูชานี้
ไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อใด อย่างไรก็ตาม ในหนังสือพระราชพิธีเฉลิมฉลอง 12
เดือน ที่พระราชนิพนธ์โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ 5) กล่าวไว้ว่า
"In
the past, the Magha Puja was never performed, the ceremony has just
been practised during the reign of King Mongkut (Rama IV)"
ในอดีต พิธีมาฆบูชานี้ไม่เคยกระทำกัน เพี่งมาประกอบพิธีกรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)
Having realized the significance of
this day, King Rama IV ordered the royal Magha Puja Ceremony tobe
performed in the Emerald Buddha Temple in 1851 and to be continued
forever. Later the ceremony was widely accepted and performed
throughout the kingdom.
พระบาทสมเด็จพระ
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงรับสั่งให้ประกอบพิธีมาฆบูชาขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปี 2394
และกระทำสืบต่อๆกันมา แพร่หลายในราชอาณาจักรจนกระทั่งทุกวันนี้
The day is declared as a public holiday
so that people from all walks of life can go to the temple to make
merit and perform other religious activities in the morning and to take
part in the candlelit procession or "Wien Tien" in Thai in the
evening.
วันนี่้ได้รับ
การประกาศเป็นวันหยุตนักขัตฤกษ์ เพื่อให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพ
ไปวัดเพื่อทำบุญและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในตอนเช้า และ
ร่วมเวียนเทียนในตอนค่ำ
At
the same time, at this auspicious time, His Majesty the King will
preside over the religious rites to mark the occasion at the Emerald
Buddha Temple and will later lead hundreds of people in a candlelit
procession held within the temple's compound.
ในเวลาเดียวกัน
เนื่องในโอกาสอันเป็นมงคลนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่วัด
พระศรีรัุตนศาสดารม
และทรงนำพสกนิกรเวียนเทียนร่วมเวียนเทียนภายในวัดนี้ด้วย
In fact, the candlelit procession can
be held at any time suitable to the public's convenience, either in the
morning or in the evening. However, in Bangkok it will usually take
place in the evening at about 8.00 p.m. and the procession will be led
by Buddhist monks.
ในความเป็นจริง
แล้ว การเวียนเทียนสามารถกระทำในช่วงเวลาใดก็ได้เพื่อความสะดวกของประชาชน
ไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้าหรือช่วงเย็น อย่างไรก็ตาม ในกรุงเทพฯ
มักนิยมกระทำาการเวียนในช่วงเย็น ประมาณ 20.00 น. และจะมีพระสงฆ์เป็นผู้นำ วันมาฆบูชา
In general, most Buddhists are not
aware of the Significance of this day. As a result, a number of people
taking part in the ceremony may be less than on other days such as
Visakha Puja or Asanha Puja Days. Even so Magha Puja Day carries an
equal meaning to all Buddhists
โดยทั่วไปแล้ว
พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ ไม่ค่อยรู้ถึงความสำคัญของวันนี้ ส่งผลให้
จำนวนผู้เข้าร่วมพิธีนี้อาจน้อยกว่าวันอื่นๆ เช่น วันวิสาขบูชา หรือ
วันอาฬหบูชา แม้กระนั้น วันมาฆบูชาก้อยังมีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนอยู่ดี
ความหมายวันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน ๓ เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
ความสำคัญวันมาฆบูชาวันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูป
มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
โดยมิได้นัดหมายกันพระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์
ผู้ได้อภิญญา ๖และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า
ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น
ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม
มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี
ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส
๑.
ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙
เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว
เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน
วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน
๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ
ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔
ประการ เรียกว่าว่า วันจาตุรงคสันนิบาต
คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ
"จาตุร" แปลว่า ๔
"องค์" แปลว่า ส่วน
"สันนิบาต" แปลว่า ประชุม
ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ
1. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
2. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
3. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
4. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ
มูลเหตุ
หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวัน
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
และได้ทรงประกาศพระศาสนาและส่งพระอรหันตสาวกออกไปจาริกเพื่อเผยแพร่พระพุทธ
ศาสนายังสถานที่ต่าง ๆ ล่วงแล้วได้ 9 เดือน
ในวันที่ใกล้พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้นต่างได้ระลึกว่า
วันนี้เป็นวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นศาสนาของตนอยู่เดิม
ก่อนที่จะหันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า
และในลัทธิศาสนาเดิมนั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือนมาฆะ
เหล่าผู้ศรัทธาพราหมณลัทธินิยมนับถือกันว่าวันนี้เป็นวันศิวาราตรี
โดยจะทำการบูชาพระศิวะด้วยการลอยบาปหรือล้างบาปด้วยน้ำ
แต่มาบัดนี้ตนได้เลิกลัทธิเดิมหันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าแล้ว
จึงควรเดินทางไปเข้าเฝ้าบูชาฟังพระสัทธรรมจากพระพุทธเจ้า
พระอรหันต์เหล่านั้นซึ่งเคยปฏิบัติศิวาราตรีอยู่เดิม
จึงพร้อมใจกันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย
มีผู้กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้พระสาวกทั้ง 1,250
องค์มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย มาจากในวันเพ็ญเดือน 3 ตามคติพราหมณ์
เป็นวันพิธีศิวาราตรี
พระสาวกเหล่านั้นซึ่งเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนจึงได้เปลี่ยนจากการรวมตัว
กันทำพิธีชำระบาปตามพิธีพราหมณ์ มารวมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแทน
คำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่
พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป
ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓
ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (ถรรถกถากล่าวว่า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐
พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา),
คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน
เป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,ผู้เบียดเบียนคนอื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะการไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิต ๑
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก
ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส
สถานที่สำคัญเนื่องด้วยวันมาฆบูชา (พุทธสังเวชนียสถาน)
พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลมหาสังฆสันนิบาต ในโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร
เมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร อินเดีย (เป็นพระพุทธรูปสร้างใหม่
ปัจจุบันเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก)เหตุการณ์สำคัญที่
เกิดในวันมาฆบูชา เกิดภายในบริเวณที่ตั้งของ "กลุ่มพุทธสถานโบราณวัดเวฬุวันมหาวิหาร"
ภายในอาณาบริเวณของวัดเวฬุวันมหาวิหาร
ซึ่งลานจาตุรงคสันนิบาตอันเป็นจุดที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชานั้น
ยังคงเป็นที่ถกเถียงและหาข้อสรุปทางโบราณคดีไม่ได้มาจนถึงปัจจุบัน
วัดเวฬุวันมหาวิหาร
"วัดเวฬุวันมหาวิหาร" เป็นอาราม
(วัด) แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต
บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ)
คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์
(อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ
แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล)
เดิม
วัดเวฬุวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จพระพาสของพระเจ้าพิมพิสาร
เป็นสวนป่าไผ่ร่มรื่นมีรั้วรอบและกำแพงเข้าออก
เวฬุวันมีอีกชื่อหนึ่งปรากฏในพระสูตรว่า
"พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน"หรือ "เวฬุวันกลันทกนิวาป"
(สวนป่าไผ่สถานที่สำหรับให้เหยื่อแก่กระแต)
พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยานแห่งนี้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาหลังจากได้
สดับพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจจ์ ณ พระราชอุทยานลัฏฐิวัน
(พระราชอุทยานสวนตาลหนุ่ม) โดยในครั้งนั้นพระองค์ได้บรรลุพระโสดาบัน
เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา และหลังจากการถวายกลันทกนิวาปสถานไม่นาน
อารามแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์ประชุมจาตุรงคสันนิบาตครั้ง
ใหญ่ในพระพุทธศาสนา อันเป็นเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา
วัดเวฬุวันหลังการปรินิพพานหลังพระพุทธเจ้าเสด็จ
ปรินิพพาน วัดเวฬุวันได้รับการดูแลมาตลอด
โดยเฉพาะมูลคันธกุฎีที่มีพระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและ
ปฏิบัติต่อสถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทุก ๆ แห่ง
เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนมชีพอยู่มิได้ขาด
โดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ติดต่อกันกว่าพันปี
แต่จากเหตุการณ์ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้งในช่วง พ.ศ. 70
ที่เริ่มจากอำมาตย์และราษฎรพร้อมใจกันถอดกษัตริย์นาคทัสสก์แห่งราชวงศ์ของ
พระเจ้าพิมพิสารออกจากพระราชบัลลังก์
และยกสุสูนาคอำมาตย์ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวีในกรุงเวสาลีแห่งแคว้นวัชชี
เก่า ให้เป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่แล้ว
พระเจ้าสุสูนาคจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมืองเวสาลีอันเป็น
เมืองเดิมของตน และกษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้ากาลาโศกราช
ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค ได้ย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธอีก
จากเมืองเวสาลีไปยังเมืองปาตลีบุตร
ทำให้เมืองราชคฤห์ถูกลดความสำคัญลงและถูกทิ้งร้าง
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัดเวฬุวันขาดผู้อุปถัมภ์และถูกทิ้งร้างอย่าง
สิ้นเชิงในช่วงพันปีถัดมา
โดยปรากฏหลักฐานบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien)
ที่ได้เข้ามาสืบศาสนาในพุทธภูมิในช่วงปี พ.ศ. 942 - 947
ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๒ (พระเจ้าวิกรมาทิตย์)
แห่งราชวงศ์คุปตะ ซึ่งท่านได้บันทึกไว้ว่า
เมืองราชคฤห์อยู่ในสภาพปรักหักพัง
แต่ยังทันได้เห็นมูลคันธกุฎีวัดเวฬุวันปรากฏอยู่
และยังคงมีพระภิกษุหลายรูปช่วยกันดูแลรักษาปัดกวาดอยู่เป็นประจำ
แต่ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกถึงสถานที่เกิดเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตแต่ประการ
ใด
แต่หลังจากนั้นประมาณ 200 ปี วัดเวฬุวันก็ถูกทิ้งร้างไป
ตามบันทึกของพระถังซำจั๋ง (Chinese traveler Hiuen-Tsang)
ซึ่งได้จาริกมาเมืองราชคฤห์ราวปี พ.ศ. 1300 ซึ่งท่านบันทึกไว้แต่เพียงว่า
ท่านได้เห็นแต่เพียงซากมูลคันธกุฎีซึ่งมีกำแพงและอิฐล้อมรอบอยู่เท่านั้น
(ในสมัยนั้นเมืองราชคฤห์โรยราถึงที่สุดแล้ว
พระถังซำจั๋งได้แต่เพียงจดตำแหน่งที่ตั้งทิศทางระยะทางของสถูปและโบราณสถาน
เก่าแก่อื่น ๆ ในเมืองราชคฤห์ไว้มาก
ทำให้เป็นประโยชน์แก่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีในการค้นหาโบราณสถาน
ต่าง ๆ ในเมืองราชคฤห์ในปัจจุบัน)
จุดแสวงบุญและสภาพของวัดเวฬุวันในปัจจุบัน
ปัจจุบัน
หลังถูกทอดทิ้งเป็นเวลากว่าพันปี
และได้รับการบูรณะโดยกองโบราณคดีอินเดียในช่วงที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของ
อังกฤษ วัดเวฬุวัน ยังคงมีเนินดินโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขุดค้นอีกมาก
สถานที่สำคัญ ๆ ที่พุทธศาสนิกชนในปัจจุบันนิยมไปนมัสการคือ
"พระมูลคันธกุฎี" ที่ปัจจุบันยังไม่ได้ทำการขุดค้น
เนื่องจากมีกุโบร์ของชาวมุสลิมสร้างทับไว้ข้างบนเนินดิน, "สระกลันทกนิวาป"
ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้ทำการบูรณะใหม่อย่างสวยงาม, และ
"ลานจาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นลานเล็ก ๆ
มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่กลางซุ้ม
ลานนี้เป็นจุดสำคัญที่ชาวพุทธนิยมมาทำการเวียนเทียนสักการะ
(ลานนี้เป็นลานที่กองโบราณคดีอินเดียสันนิษฐานว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาท
ปาฏิโมกข์ในจุดนี้)
จุดที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา (ลานจาตุรงคสันนิบาต)
ถึง
แม้ว่าเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตจะเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งที่เกิดในบริเวณวัด
เวฬุวันมหาวิหาร
แต่ทว่าไม่ปรากฏรายละเอียดในบันทึกของสมณทูตชาวจีนและในพระไตรปิฎกแต่อย่าง
ใดว่าเหตุการณ์ใหญ่นี้เกิดขึ้น ณ จุดใดของวัดเวฬุวัน
รวมทั้งจากการขุดค้นทางโบราณคดีก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการทำเครื่องหมาย
(เสาหิน) หรือสถูประบุสถานที่ประชุมจาตุรงคสันนิบาตไว้แต่อย่างใด
(ตามปกติแล้วบริเวณที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา
มักจะพบสถูปโบราณหรือเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างหรือปักไว้เพื่อเป็น
เครื่องหมายสำคัญสำหรับผู้แสวงบุญ)
ทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทราบโดยแน่ชัดว่าเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตเกิดขึ้น
ในจุดใดของวัด
ในปัจจุบันกองโบราณคดีอินเดียได้แต่เพียงสันนิษฐานว่า
"เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดในบริเวณลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป"
(โดยสันนิษฐานเอาจากเอกสารหลักฐานว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีพระสงฆ์ประชุมกัน
มากถึงสองพันกว่ารูป
และเกิดในช่วงที่พระพุทธองค์พึ่งได้ทรงรับถวายอารามแห่งนี้
การประชุมครั้งนั้นคงยังต้องนั่งประชุมกันตามลานในป่าไผ่
เนื่องจากเสนาสนะหรือโรงธรรมสภาขนาดใหญ่ยังคงไม่ได้สร้างขึ้น
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป
เป็นลานกว้างลานเดียวในบริเวณวัดที่ไม่มีโบราณสถานอื่นตั้งอยู่)
โดยได้นำพระพุทธรูปยืนปางประทานพรไปประดิษฐานไว้บริเวณซุ้มเล็ก ๆ กลางลาน
และเรียกว่า "ลานจาตุรงคสันนิบาต"
ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าลานจาตุรงคสันนิบาตที่แท้จริงอยู่
ในจุดใด
และยังคงมีชาวพุทธบางกลุ่มสร้างซุ้มพระพุทธรูปไว้ในบริเวณอื่นของวัดโดย
เชื่อว่าจุดที่ตนสร้างนั้นเป็นลานจาตุรงคสันนิบาตที่แท้จริง
แต่พุทธศาสนิกชนชาวไทยส่วนใหญ่ก็เชื่อตามข้อสันนิษฐานของกองโบราณคดีอินเดีย
ดังกล่าว
โดยนิยมนับถือกันว่าซุ้มพระพุทธรูปกลางลานนี้เป็นจุดสักการะของชาวไทยผู้มา
แสวงบุญจุดสำคัญ 1 ใน 2 แห่งของเมืองราชคฤห์
(อีกจุดหนึ่งคือพระมูลคันธกุฎีบนยอดเขาคิชกูฏ)
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา
การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า
หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด
ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน
ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ
พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย
ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง
พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้
ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี
ขอบคุณข้อมูลจาก : dhammathai.org,วิกิพีเดีย
...เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ วันมาฆบูชา ...
- เดินสายไหว้พระ 9 วัด ในวันมาฆบูชา
ผู้สนับสนุนหลัก: แหล่งรวมผลิตภัณฑ์ ดูแล "ผิวขาว" เปล่งประกายออร่า : www.chivabeauty.com
สปาผิวขาว คอร์สผิวขาว คอร์สเจ้าสาว ดูแลผิวเองได้แล้วที่บ้าน
ครีมหน้าใส ผิวขาว สำหรับเตรียมพร้อมผิวก่อนเป็นดารา นักร้อง นักแสดง www.chivabeauty.com
ติดตามอัพเดตผลิตภัณฑ์สำหรับผิวสวยของคุณได้ ตลอด 24 hr ผ่านทาง facebook fanpage
facebook : http://www.facebook.com/chivabeautyshop
"ครีมหน้าใส" อื่นๆ :ครีมนมข้าว, ครีมน้ำนมข้าว, ครีมกันแดดซิลิโคน, ครีมหน้าใส, เซรั่ม ขาว ใส ยกกระชับ, ครีมตัวขาว, ครีม เซรั่ม ใต้ตา, เจล หน้าใส ยกกระชับ ปรับผิวขาว, สบู่หน้าใส, ครีม เซรั่ม เจล ลดสิว, บรรจุภัณฑ์, สติกเกอร์ โลโก้ ครีมหน้าใส, ผิวขาว , ครีมหน้าขาว , ครีมนมผึ้ง, ครีมน้ำนมผึ้ง, ครีมสาหร่าย
กด Link(ถูกใจ) หน้า page ครีมสาหร่าย สีเข้ม สอบถามอัพเดตข่าวสาร ได้ที่ หน้า page นี้เลยนะค่ะ
พริตตี้ มอเตอร์โชว์ 2012 ----> ผู้สนับสนุนครีมสาหร่าย ครีมหน้าใส
ติดตาม ดูทีวีออนไลน์ ได้ 24 hr กับ http://tv.sanook.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น